"สะแกราช - ราชสีมา"
         
  เรื่องราวที่น่าใจ   คลิก..อ่านจากไฟล์ Flash Player
     
  - ประวัติศาสตร์ตำบลสะแกราช  
  - ประวัติศาสตร์อำเภอปักธงชัย  
  - ประวัติอำเภอต่าง ๆ ในโคราช  
  - ประวัติศาสตร์เมืองนครราชสีมา  
  - นิทานพื้นบ้านของโคราช  
  - นามสกุลของชาวโคราช  
  - วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์  
คลิก..อ่านจาก Photo Album
  - ชาติพันธุ์ในโคราช  
  - "เพ็ชร์ ก้อน โต" พระอริยสงฆ์แห่งปักธงชัย  
  - หลวงปู่ศุข จังหวัดชัยนาท  
  - สำเร็จลุน แห่งจำปาศักดิ์  
  - สืบค้นเครือญาติสายตระกูล "พูนผล"  
     
 
และอื่น ๆ อีกมากมาย
 
 
*** ทำไมต้องเป็น "สะแกราช - ราชสีมา" ***

หลังจากที่ปู่หิน พูนผล จากพวกเราไป...ผมได้รับสมุดบันทึกเก่า ๆ เล่มนึงจากอา ซึ่งเป็นสมุดที่เขียนบันทึกประวัติต่าง ๆ ด้วยลายมือของปู่หินเอง ... ก็ตั้งใจว่าจะพิมพ์ประวัติของท่านเพื่อแจกในงานวันฌาปนกิจ...แต่เนื่องจากมีเวลาน้อยทำให้เรียบเรียงข้อมูลไม่ทันก็เลยต้องเลื่อนออกไปเป็นวันทำบุญครบ 100 วัน ปู่หิน ซึ่งก็ไม่ทันอีก...

!!! จนกระทั่ง...ปู่หินจากไปครบ 1 ปี ...ย่าอินทร์ พูนผล ก็จากพวกเราไปอีก...!!!! ผมก็เลยตั้งใจเอาไว้ว่าจะเรียบเรียงหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติของทั้งสองท่านให้สำเร็จ..จนได้..

1. ครั้งแรกตั้งใจว่า..หนังสือเล่มนี้จะใช้ชื่อว่า "ร่มโพธิ์-ร่มไทร" ซึ่งหมายถึง "ปู่หิน-ย่าอินทร์" เนื่องจาก..เป็นหนังสือที่บันทึกประวัติ "ปู่หิน" - ย่าอินทร์ พูนผล"

2. แต่เนื่องจาก ปู่หิน ได้เขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ "บ้านห้วย" บวกกับรายงานพ่ออรรถ ได้เขียนบันทึกประวัติตำบลสะแกราช และการสืบค้นเครือญาติสาย "ตระกูลพูนผล" จึงตั้งใจจะใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า "ที่นี่สะแกราช"

3. แต่เมื่อได้อ่านสมุดบันทึกของ "ปู่หิน" ที่กล่าวถึง ประวัติบางส่วนของ "หลวงพ่อก้อน" รวมไปถึงหนังสืออนุสรณ์ของ หลวงพ่อก้อน ,หลวงพ่อเพชร์ จนถึงหลวงพ่อโต และได้สืบค้นไปจนถึง "หลวงปู่ศุข" และ "สำเร็จลุน" ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโตและได้ถ่ายทอดวิชาถึงหลวงพ่อก้อนและหลวงพ่อเพชร์ ก็ตั้งใจว่าหนังสือเล่มนี้จะใช้ชื่อว่า "สะแกราช ณ ปักธงชัย"

4. แต่เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของอำเภอปักธงชัยจนทราบถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง "ด่านสะแกราช" - "ด่านจะโปะ" - "เมืองนครราชสีมา" กรุงกัมพูชา รวมถึงนครเวียงจันทน์ ทำให้ทราบว่าทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวพันธ์กันมาแต่ในอดีต ทำให้ต้องไปค้นคว้าถึงประวัติของเมืองนครราชสีมา จึงตั้งใจจะเลือกใช้ชื่อหนังสือนี้ว่า "สะแกราช ณ ราชสีมา" หรือ "จากสะแกราชถึงราชสีมา

5. เมื่อได้เรียบเรียงเสร็จแล้วได้ไปปรึกษากับพี่ต๋อง (ศิริศักดิ์) สรุปว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นการเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นตั้งแต่ตำบลสะแกราชไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเปรียบเหมือนกับการเดินทางด้วยโดยสารจากตำบลสะแกราชไปถึงจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อให้ง่ายต่อการจำ จึงลดเหลือแค่คำว่า 

"สะแกราช - ราชสีมา"

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้จนสำเร็จ ขอให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญในหน้าที่การงานสืบไป...

อิราวรรส พูนผล
       
ผู้เรียบเรียง